Tuesday, August 11, 2015

Chai Nat Brand & Packaging Design Research 2014-2015


 ต่อยอดงานวิจัยจากปี 2556  ในปีงบประมาณ 2558 ผศ.ประชิด ทิณบุตร ได้ลงพื้นที่วิจัยที่ชัยนาท ใช้วิจัยวิทยาแบบให้ชุมชน ได้มีส่วนร่วม(Community Based participatory Research : CBPR) โดยให้ผู้เกี่ยวข้องและมีส่วนได้ส่วนเสียได้ร่วมให้ข้อมูล และร่วมตัดสินใจคัดเลือกผลงานโดยวิธีการประชุมสนทนากลุ่ม(Focus Groups) ในการตัดสินใจในผลงานการออกแบบพัฒนา ผลงานออกแบบพัฒนาตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ใหม่ ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มสมันไพรบ้านโรงวัว อำเภอเมืองชัยนาท สร้างแบรนด์ใหม่ชื่อ ชัยนารถเฮิร์บ ใช้ชื่อพ้องเสียงของจังหวัดเพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่สื่อสารถึงจังหวัดชัยนาท โดยการ บรรยาย นำเสนอแนะแนวทางการพัฒนาต่อยอดการสร้างสรรค์คุณภาพผลิตภัณฑ์ การร่วมวิพากษ์ การสาธิต การร่วมแสดงความคิดเห็นแบบสนทนากลุ่มย่อย และส่งมอบชุดทดลองตลาดให้ไปดำเนินการต่อยอดทางธุรกิจที่เข้มแข็งและพึงพาตนเองได้ต่อไป และยังมีวิสาหกิจชุมชนกลุ่มอื่นๆอีก 7 กลุ่ม รวม 8 กลุ่ม ที่ได้รับการพัฒนา รายละเอียดเพิ่มเติมติดตามได้ที่ http://chainatbrand.blogspot.com

Monday, February 23, 2015

สรุปความสำคัญหรือจุดเด่นของผลงานวิจัยนี้





เป็นงานวิจัยที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากงบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ 2556 เป็นผลงานวิจัยที่ความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559 ในยุทธศาสตร์ของการสร้างความเข้มแข็งภาคเกษตร ความมั่นคงของอาหารและพลังงาน ในมิติของการสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรตลอดห่วงโซ่การผลิต และความสอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2555-2559) ยุทธศาสตร์การวิจัยที่ 2 การสร้างศักยภาพและความสามารถเพื่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจการวิจัยที่ 1.สร้างมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรและการพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันและการพึ่งพาตนเองของสินค้าเกษตร แผนงานวิจัยข้อ 1.5 การวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนามาตรฐานด้านการผลิตและผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตร เป็นการวิจัยที่ได้ยกระดับความสามารถในการแข่งขันและขยายช่องทางการตลาดของธุรกิจอุตสาหกรรม ธุรกิจบริการในประเทศ และธุรกิจวิสาหกิจชุมชน ให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ในการผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณค่าและคุณภาพสูงขึ้น

โดยการวิจัยนี้ได้ให้กลุ่มบุคคลในชุมชนที่เป็นสถานที่ทำการศึกษาวิจัยทดลอง ในเขตพื้นที่จังหวัดชัยนาท ทั้ง 8 อำเภอ อำเภอละ 2 ราย รวม 16 ราย ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการศึกษาและพัฒนา (Community-based participatory research (CBPR) ร่วมให้ข้อมูล และร่วมตัดสินใจคัดเลือกผลงานโดยวิธีการประชุมสนทนากลุ่ม(Focus Groups) โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัยเป็นลำดับขั้นตอนของการออกแบบและการพัฒนา(Design and Development Work Flow) ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ใหม่ ได้สร้างความรู้ ให้ได้ฐานความรู้ ความชำนาญ และความคิดสร้างสรรค์ ได้ผลงานออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์สินค้าที่ได้มาตรฐาน มีคุณลักษณะและบทบาทหน้าที่ทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพเพื่อการแข่งขัน มีลิขสิทธิ์อย่างถูกต้องตามกฏหมายไทยและสากล ได้แนวคิดต่อยอดความรู้สู่การสร้างนวัตกรรมสืบเนื่องจากงานวิจัยที่ได้ร่วมพัฒนา ได้ร่วมสร้างและรักษาตราสินค้าใหม่บรรจุภัณฑ์ใหม่จากศักยภาพที่มีด้วยภูมิปัญญาในท้องถิ่น ได้เกิดการพัฒนางานศิลปหัตถกรรมและผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อการสร้างเอกลักษณ์และการผลิตสินค้าในท้องถิ่นให้เข้มแข็งสามารถเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณค่าเพิ่มและคุณภาพสูงขึ้นต่อไป คลิกดดูผลงานทั้งหมด>

Friday, August 15, 2014

บทคัดย่อ:abstract

การออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์สินค้าการเกษตรของวิสาหกิจชุมชน จังหวัดชัยนาท เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันที่มีประสิทธิภาพ ตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 
 Packaging design and development of Chai Nat agricultural community enterprise products to improve competitiveness and efficiency under the concept of the creative economy.

ประชิด ทิณบุตร[1]
Prachid Tinnabutr1 

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์สินค้าทางการเกษตรของวิสาหกิจชุมชน ในเขตจังหวัดชัยนาท 2) เพื่อออกแบบพัฒนาต้นแบบบรรจุภัณฑ์สินค้าการเกษตรของวิสาหกิจชุมชน ในเขตจังหวัดชัยนาท ภายใต้กรอบแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ให้มีประสิทธิภาพเพื่อการแข่งขันทางการค้า และ 3) เพื่อประเมินประสิทธิภาพต้นแบบบรรจุภัณฑ์สินค้าใหม่ ซึ่งการวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยแบบพัฒนาทดลอง โดยวิธีการให้กลุ่มบุคคลในชุมชนที่เป็นสถานที่ทำการศึกษาวิจัยทดลอง ในเขตพื้นที่จังหวัดชัยนาท ทั้ง 8 อำเภอ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการศึกษาและพัฒนาร่วมให้ข้อมูล และร่วมตัดสินใจคัดเลือกผลงานโดยวิธีการร่วมปรึกษาประชุมสนทนากลุ่มย่อย โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัยตามลำดับขั้นตอนของการออกแบบและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาพัฒนาคือ บรรจุภัณฑ์สินค้าด้านการเกษตรของกลุ่มวิสาหกิชุมชน ทั้ง 8 อำเภอ ในเขตจังหวัดชัยนาท อำเภอละ 2 ผลิตภัณฑ์ จำนวนรวม 16 รายการ ที่ออกแบบภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยมีการประเมินประสิทธิภาพและคุณภาพโดยใช้ตัวแทนจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ 5 กลุ่ม อันได้แก่ผู้ประกอบการ/ฝ่ายการตลาด นักวิชาการ/ผู้เชี่ยวชาญ/ที่ปรึกษา/นักวิจัย นักวิชาการพัฒนาชุมชน/เจ้าหน้าที่รัฐ/หน่วยงานของจังหวัดชัยนาท นักออกแบบบรรจุภัณฑ์ และผู้ซื้อหรือผู้บริโภคทั่วไป โดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจงเลือกในฐานะผู้มีส่วนร่วมพัฒนา และการสุ่มแบบบังเอิญ รวมจำนวนทั้งสิ้น 80 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการนำเสนอผลงานแบบกลุ่มย่อย การสอบถามความคิดเห็นทั้งโดยตรงและแบบสอบถามออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลจากการวิจัยตามกระบวนการสร้างสรรค์และวิธีดำเนินการวิจัยแบบมีส่วนร่วม ทำให้ได้ชุดผลงานต้นแบบที่มีส่วนประกอบทางโครงสร้างและกราฟิกอัตลักษณ์สำหรับบรรจุภัณฑ์สินค้า ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนด้านการเกษตรในแต่ละอำเภอ รวม 8 อำเภอ อำเภอละ 2 ราย รวมทั้งสิ้น 16 ราย โดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่ได้ร่วมประเมินประสิทธิภาพและคุณภาพผลงานต้นแบบบรรจุภัณฑ์สินค้า เห็นว่าภาพรวมด้านการออกแบบโครงสร้าง ด้านการออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ และด้านการรับรู้ทางด้านการตลาด เป็นผลงานการออกแบบที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพที่เป็นไปตามตามวัตถุประสงค์ อยู่ในเกณฑ์ระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยรวมทุกอำเภออยู่ที่ 4.61 ผู้วิจัยได้สรุปรวบรวมไฟล์ต้นแบบดิจิตัลที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องขององค์ประกอบทางกราฟิกอัตลักษณ์ ข้อมูลสารสนเทศของสินค้าและผู้ผลิต บันทึกลงแผ่นดีวีดี มอบให้แก่ผู้ประกอบการแต่ละราย และได้นำเสนอเผยแพร่องค์ความรู้สาระสำคัญการวิจัยครั้งนี้ไว้ที่เว็ปบลอกชื่อที่อยู่ http://chainatotop.blogspot.com
        คำสำคัญ : การออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์ สินค้าการเกษตรวิสาหกิจชุมชน ขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้า เศรษฐกิจสร้างสรรค์ จังหวัดชัยนาท

---------------------------------------------------------

Title : Packaging design and development of Chai Nat agricultural community enterprise products to improve competitiveness and efficiency under the concept of the creative economy.

Researcher:Prachid Tinnabutr
Year 2014

Abstract

The research objectives are 1) to gain a better understanding and more knowledge of Chainat’s community enterprise product and package designs 2) to develop a set of new designs under the concept of the creative economy, which aims to promote consistency in visual identity as well as improve competitiveness. 3) to evaluate an efficiency of the new designs. This experimental research takes place in eight districts in Chai Nat with a corporation from local communities, where groups of locals in each district assist in the design and development workflow. The selected groups also involve in selecting the final designs that best signify their true local identity by organizing a series of small focus group meeting to discuss the design and development workflow, which include product and package design specification, product concept generation stage, product and packaging design stage, production stage, and conclusion and evaluation. The products involved in this research consist of two agricultural products from eight districts in Chai Nat, which result in the total of sixteen new package designs under the concept of the creative economy. To evaluate the effectiveness of the experimental research, experts from five different sectors, including entrepreneur/marketing, scholar/advisor/researcher, social worker/government agent/government institute, professional product designer and regular consumer, are chosen by a simple random sample method in the total of eighty samples. The final designs are presented to a small group of people before collecting the evaluating questionnaires and opinions using a focus group method. The evaluation is done through both online questionnaires and in person. The descriptive statistics used in this experimental research include percents, mean, and standard deviation.

The result from this experimental research, which involve a corporation from local communities leads to the set of products that embrace the true branding identity of Chai Nat agricultural community enterprise products as well as strengthen market perception and competitiveness. According to the selected groups of experts, the evaluation results in a mean of 4.61 for the entire districts involved in this research. Furthermore, the experts also have agreed that this new set of package design is relevance to the creative economy. Thus, DVDs including a digital copy of the final package designs as well as product and manufacturer information are given to entrepreneurs involved in the project. For online version of this experimental research, please visit a blog URL: http://chainatotop.blogspot.com.

Keywords: Packaging Design and Development, Agricultural Community Enterprise Product, Chai Nat Province, Competitiveness and Efficiency, Creative Economy


[1] สาขาวิชาศิลปกรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

Tuesday, July 29, 2014

เชิญทุกท่านที่เข้าแวะเยือน และร่วมมีส่วนร่วมในการทำแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการวิจัย

เรียนเชิญทุกท่าน เข้ามามีส่วนร่วมมีส่วนร่วมในวิจัยออนไลน์ โดยช่วยทำแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการวิจัยเรื่องการออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์สินค้าการเกษตรของวิสาหกิจชุมชน จังหวัดชัยนาท เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันที่มีประสิทธิภาพ ตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ครับ คลิกที่เมนู แบบสำรวจ:Survey ด้านบนได้เลยครับ 

โปรดกรุณาตอบแบบสอบถามตามความคิดเห็น ทัศนคติ ความรู้สึก ความเป็นจริงและประสบการณ์ร่วมของท่าน ที่มีต่อต้นแบบที่ได้นำเสนอ (Presentation Mood Board) ไว้ในแต่ละรายการแล้ว ซึ่งข้อมูลที่ได้จะเป็นประโยชน์ต่อการสรุปผลการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชน  เป็นการร่วมให้ข้อปรึกษาแก่ผู้ประกอบการและผู้ร่วมงาน อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผลิตภัณฑ์สินค้า ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในเขตจังหวัดชัยนาทและเป็นข้อมูลแนวทางต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนอื่นๆอีกต่อไป

ขอขอบพระคุณ ในความร่วมมือของท่านไว้ ณ ที่นี้ เป็นอย่างสูง

ผศ.ประชิด ทิณบุตร หัวหน้าโครงการวิจัย
นางสาวเกวรินทร์ พันทวี ผู้ร่วมวิจัย
นายฐปนนท์ อ่อนศรี ผู้ร่วมวิจัย

Sunday, July 27, 2014

Prachid Chai Nat Packaging Design Moodboard 2014 แผนภาพสรุปผลการทำงานออกแบบบรรจุภัณฑ์ชัยนาท 2556

Prachid Chai Nat Packaging Design Moodboard 2014 แผนภาพสรุปผลการทำวิจัยออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์ชัยนาท จำนวน 16 ผลิตภัณฑ์ จาก 8 อำเภอ ในจังหวัดชัยนาท ปีพศ.2557 ปีงบประมาณ 2556 Mood board is a type of collage consisting of images, text, and samples of objects in a composition. They may be physical or digital, and can be "extremely effective" presentation tools

Saturday, July 26, 2014

Chai Nat Community Enterprise Packaging Design Concept Redered :

Chai Nat Community Enterprise Packaging Design Concept Redered : ผลงานจำลองรูปแบบ 3 มิติเพื่อแสดงจำลองสถานภาพจริง คุณลักษณะที่ต้องการตามแนวความคิดสร้างสรรค์ การประกอบโครงสร้างและกราฟิกต่างๆ อันเป็นส่วนประกอบของบรรจุภัณฑ์ เพื่อศึกษาภาพลักษณ์และมุมมองที่ปรากฏ ผลงานวิจัยออกแบบโดย ผศ.ประชิด ทิณบุตร จำลองโดยผู้ช่วยวิจัย นายคณาศักดิ์ พงษ์พาลี 21/07/2557

Tuesday, March 11, 2014

กลุ่มสมุนไพรเพื่อสุขภาพบ้านโรงวัว อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท

กลุ่มสมุนไพรเพื่อสุขภาพ 107 หมู่ 4 บ้านโรงวัว ตำบลเสือโฮก อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท ติดต่อ นางทองใส สุนาโท โทร 089-6395797

กลุ่มจักสานไม้ไผ่และหวายบ้านท่าแขก อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท


กลุ่มจักสานไม้ไผ่และหวายบ้านท่าแขก อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท ผศ.ประชิด ทิณบุตร เข้าศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการงานออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าเครื่องจักสานไม้ไผ่และหวาย โดยมีพัฒนาการอำเภอมโนรมย์ ให้ความกรุณาร่วมเป็นคณะเดินทางเข้าเยี่ยมชุมชน โดยมีลุงชม ศิริสุข ประธานกลุ่มได้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการวิจัยเป็นอย่างดี