เว็บบล็อกการจัดการความรู้ การวิจัยเรื่องการออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์สินค้าการเกษตรของวิสาหกิจชุมชน จังหวัดชัยนาท เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันที่มีประสิทธิภาพ ตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ปีงบประมาณ 2556 โดย ผศ.ประชิด ทิณบุตร : Research knowledege management Weblog : Packaging design and development of Chainat agricultural community enterprise products to improve competitiveness and efficiency under the concept of the creative economy.by Assistant Professor Prachid Tinnabutr
Pages
- Home
- About Researchers
- โครงการวิจัย 90388
- การมีส่วนร่วมในการวิจัย
- เศรษฐกิจสร้างสรรค์ : Creative Economy
- ภาพกิจกรรม:Research Acts
- การออกแบบพัฒนาสินค้าและบรรจุภัณฑ์
- About Chainat
- Creative Links
- แผนที่วิสาหกิจชุมชนชัยนาท : SMEC GIS Mapping
- Interest Links
- แบบสำรวจ:Survey
- สรุปผลวิจัย : Results
- บทคัดย่อ:Abstract
- เผยแพร่ผลงานการวิจัย
Sunday, November 24, 2013
Sunday, October 20, 2013
คำนิยามของเศรษฐกิจสร้างสรรค์
การนิยามความหมายของคำว่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์(Creative Economy)ในปัจจุบันนี้นั้น ยังไม่มีการกำหนดคำนิยามของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่เป็นหนึ่งเดียวไว้อย่างชัดเจน ซึ่งขึ้นอยู่กับว่า การนิยามนั้นจะเป็นการนิยามตามการนำไปปรับใช้ให้เข้ากับระบบเศรษฐกิจของแต่ละองค์กร หน่วยงาน หรือประเทศที่เกี่ยวข้องในภาระกิจต่างๆ แต่ทั้งนี้ โดยความหมายอย่างง่ายๆของคำว่า “เศรษฐกิจสร้างสรรค์” ซึ่งนิยามโดย John Howkins ที่ให้คำนิยามเอาไว้ว่า คือ การสร้างมูลค่าที่เกิดจากความคิดของมนุษย์
สำหรับสาขาการผลิตที่พัฒนาไปสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ จะเรียกว่าอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industries) ซึ่งหมายถึงกลุ่มกิจกรรมการผลิตที่ต้องพึ่งพาความคิดสร้างสรรค์เป็นวัตถุดิบสำคัญ
ทั้งนี้หน่วยงานและรัฐบาลของประเทศต่างๆ ได้ให้คำนิยามของเศรษฐกิจสร้างสรรค์และอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ไว้ดังนี้ เช่น
ในสหราชอาณาจักร ซึ่งจัดว่าเป็นประเทศต้นแบบที่ได้รับการยอมรับให้เป็น“ศูนย์กลางความสร้างสรรค์ของโลก” (World Creative Hub)ได้ให้ความหมายของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เอาไว้ดังนี้คือ
“เศรษฐกิจที่ประกอบด้วยอุตสาหกรรมที่มีรากฐานมาจากความคิดสร้างสรรค์ของบุคคล ทักษะความชำนาญ และความสามารถพิเศษ ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการสร้างความมั่งคั่งและสร้างงาน ให้เกิดขึ้นได้ โดยที่สามารถสั่งสมและส่งผ่านจากรุ่นเก่าสู่รุ่นใหม่ ด้วยการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา”
องค์การความร่วมมือเพื่อการค้าและการพัฒนา (United Nations Conference on Trade and Development: UNCTAD) เน้นบริบทของทรัพย์สินทางปัญญาว่า“ประกอบไปด้วยอุตสาหกรรมทางวัฒนธรรม ซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์ ทางวัฒนธรรมและศิลปะทั้งหมด ทั้งในรูปสินค้าและบริการที่ต้องอาศัยความพยายามในการสร้างสรรค์งานไม่ว่าจะเป็นการทำขึ้นมาโดยทันทีในขณะนั้นหรือผ่านกระบวนการผลิตมาก่อน”
องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (World Intellectual Property Organization: WIPO) ได้ยึดนิยามที่นำเสนอโดยกระทรวงวัฒนธรรม สื่อและการกีฬาของสหราชอาณาจักรว่า คือ อุตสาหกรรมที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ ความชำนาญและความสามารถที่มีศักยภาพในการสร้างงานและความมั่งคั่ง โดยการผลิตและใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญา
องค์การยูเนสโก (The United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) ได้ให้ความหมายในบริบทของการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจไว้ว่า
เป็นแนวความคิดในการพัฒนาและสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยใช้สินทรัพย์ที่เกิดจากการใช้ความคิดสร้างสรรค์
โดยสรุป ความหมายของ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ คือกิจกรรมที่ต้องมีองค์ประกอบร่วมของแนวความคิดในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ บนพื้นฐานของการใช้องค์ความรู้ ทางการศึกษา การสร้างสรรค์งาน และการใช้ทรัพย์สินทางปัญญา ที่เชื่อมโยงกับรากฐานทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาของสังคม นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสม
เอกสารอ้างอิง
Cover Story.(2552). "ยินดีต้อนรับสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์." นิตยสารคิด.1(1) , 12-19.
ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ.(2556).เศรษฐกิจสร้างสรรค์คืออะไร?. [Online] แหล่งที่มา:
http://www.creativethailand.org/th/about/about_cceo.php [11 กันยายน 2556].
สำหรับสาขาการผลิตที่พัฒนาไปสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ จะเรียกว่าอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industries) ซึ่งหมายถึงกลุ่มกิจกรรมการผลิตที่ต้องพึ่งพาความคิดสร้างสรรค์เป็นวัตถุดิบสำคัญ
ทั้งนี้หน่วยงานและรัฐบาลของประเทศต่างๆ ได้ให้คำนิยามของเศรษฐกิจสร้างสรรค์และอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ไว้ดังนี้ เช่น
ในสหราชอาณาจักร ซึ่งจัดว่าเป็นประเทศต้นแบบที่ได้รับการยอมรับให้เป็น“ศูนย์กลางความสร้างสรรค์ของโลก” (World Creative Hub)ได้ให้ความหมายของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เอาไว้ดังนี้คือ
“เศรษฐกิจที่ประกอบด้วยอุตสาหกรรมที่มีรากฐานมาจากความคิดสร้างสรรค์ของบุคคล ทักษะความชำนาญ และความสามารถพิเศษ ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการสร้างความมั่งคั่งและสร้างงาน ให้เกิดขึ้นได้ โดยที่สามารถสั่งสมและส่งผ่านจากรุ่นเก่าสู่รุ่นใหม่ ด้วยการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา”
องค์การความร่วมมือเพื่อการค้าและการพัฒนา (United Nations Conference on Trade and Development: UNCTAD) เน้นบริบทของทรัพย์สินทางปัญญาว่า“ประกอบไปด้วยอุตสาหกรรมทางวัฒนธรรม ซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์ ทางวัฒนธรรมและศิลปะทั้งหมด ทั้งในรูปสินค้าและบริการที่ต้องอาศัยความพยายามในการสร้างสรรค์งานไม่ว่าจะเป็นการทำขึ้นมาโดยทันทีในขณะนั้นหรือผ่านกระบวนการผลิตมาก่อน”
องค์การยูเนสโก (The United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) ได้ให้ความหมายในบริบทของการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจไว้ว่า
เป็นแนวความคิดในการพัฒนาและสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยใช้สินทรัพย์ที่เกิดจากการใช้ความคิดสร้างสรรค์
โดยสรุป ความหมายของ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ คือกิจกรรมที่ต้องมีองค์ประกอบร่วมของแนวความคิดในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ บนพื้นฐานของการใช้องค์ความรู้ ทางการศึกษา การสร้างสรรค์งาน และการใช้ทรัพย์สินทางปัญญา ที่เชื่อมโยงกับรากฐานทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาของสังคม นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสม
เอกสารอ้างอิง
Cover Story.(2552). "ยินดีต้อนรับสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์." นิตยสารคิด.1(1) , 12-19.
ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ.(2556).เศรษฐกิจสร้างสรรค์คืออะไร?. [Online] แหล่งที่มา:
http://www.creativethailand.org/th/about/about_cceo.php [11 กันยายน 2556].
Monday, April 22, 2013
ทีมงานวิจัย
หัวหน้าโครงการวิจัย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประชิด ทิณบุตร สัดส่วนการทำวิจัย 70%
โทรศัพท์:089-6670091 โทรศัพท์ที่ทำงาน: 02-942-6900-99 ext:3011
อีเมล:prachid007@gmail.com
รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย อาจารย์ประจำสาขาวิชาศิลปกรรม ภาควิชามนุษยศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ถนนรัชดาภิเษก เขตจตุจักร กทม. 10900.
หน้าที่รับผิดชอบ : หัวหน้าผู้ดำเนินการวิจัยตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงสิ้นสุดโครงการ อันได้แก่ การวางแผน การดำเนินการ งานการเงิน การติดตามและควบคุมการดำเนินการวิจัยทุกขั้นตอน การสืบค้นข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การออกแบบพัฒนาสร้างสรรค์ การผลิตผลงานต้นแบบโครงสร้าง การอภิปรายผล การสรุปผลและเผยแพร่ผลงานวิจัยทุกระยะ กระทั่งได้ผลงานวิจัยฉบับสมบูรณ์แล้วเสร็จ
ผู้ร่วมวิจัย
1 นางสาวเกวรินทร์ พันทวี สัดส่วนการทำวิจัย 15%
โทรศัพท์:085-600-0465 โทรศัพท์ที่ทำงาน: 02-942-6900-99 ext:3011
อีเมล kevarin99@hotmail.com
อาจารย์ประจำสาขาวิชาศิลปกรรม ภาควิชามนุษยศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์
และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ถนนรัชดาภิเษก เขตจตุจักร กทม. 10900
หน้าที่รับผิดชอบ : เป็นผู้ร่วมดำเนินการวิจัยในขั้นตอนการสืบค้นข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การออกแบบพัฒนาสร้างสรรค์ การผลิตผลงานต้นแบบ
2. นายฐปนนท์ อ่อนศรี สัดส่วนการทำวิจัย 15%
โทรศัพท์:081-664-5959 โทรศัพท์ที่ทำงาน: 02-942-6900-99 ext:3011
อีเมล m_art99@yahoo.com อาจารย์ประจำสาขาวิชาศิลปกรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
หน้าที่รับผิดชอบ : งานจัดฝึกอบรม เป็นผู้ร่วมดำเนินการวิจัยในขั้นตอนการสืบค้นข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การออกแบบพัฒนาสร้างสรรค์ การผลิตผลงานต้นแบบกราฟิกทางการพิมพ์
ผู้ช่วยนักวิจัย
จบการศึกษาระดับปริญญาตรี วิชาเอกออกแบบนิเทศศิลป์และแขนงวิชาเอกออกแบบประยุกต์ศิลป์ และหรือสาขาที่เกี่ยวข้อง จำนวน 1 คน
หน้าที่รับผิดชอบ : เป็นผู้ช่วยนักวิจัยในการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงประจักษ์ การถ่ายภาพสตูดิโอ การออกแบบ-เขียนแบบโครงสร้าง ออกแบบกราฟิก อาร์ตเวิร์คสิ่งพิมพ์ สื่อการนำเสนอ การจัดทำแบบจำลอง การอัพเดทฐานข้อมูลออนไลน์และเว็บไซต์ ด้วยโปรแกรมประยุกต์ทางกราฟิกและโปรแกรมประยุกต์ประมวลผลกลุ่มเมฆแบบฟรี ตามลำดับขั้นตอนการวิจัยและหรือในขั้นตอนที่ได้รับมอบหมายเฉพาะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประชิด ทิณบุตร สัดส่วนการทำวิจัย 70%
โทรศัพท์:089-6670091 โทรศัพท์ที่ทำงาน: 02-942-6900-99 ext:3011
อีเมล:prachid007@gmail.com
รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย อาจารย์ประจำสาขาวิชาศิลปกรรม ภาควิชามนุษยศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ถนนรัชดาภิเษก เขตจตุจักร กทม. 10900.
หน้าที่รับผิดชอบ : หัวหน้าผู้ดำเนินการวิจัยตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงสิ้นสุดโครงการ อันได้แก่ การวางแผน การดำเนินการ งานการเงิน การติดตามและควบคุมการดำเนินการวิจัยทุกขั้นตอน การสืบค้นข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การออกแบบพัฒนาสร้างสรรค์ การผลิตผลงานต้นแบบโครงสร้าง การอภิปรายผล การสรุปผลและเผยแพร่ผลงานวิจัยทุกระยะ กระทั่งได้ผลงานวิจัยฉบับสมบูรณ์แล้วเสร็จ
ผู้ร่วมวิจัย
1 นางสาวเกวรินทร์ พันทวี สัดส่วนการทำวิจัย 15%
โทรศัพท์:085-600-0465 โทรศัพท์ที่ทำงาน: 02-942-6900-99 ext:3011
อีเมล kevarin99@hotmail.com
อาจารย์ประจำสาขาวิชาศิลปกรรม ภาควิชามนุษยศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์
และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ถนนรัชดาภิเษก เขตจตุจักร กทม. 10900
หน้าที่รับผิดชอบ : เป็นผู้ร่วมดำเนินการวิจัยในขั้นตอนการสืบค้นข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การออกแบบพัฒนาสร้างสรรค์ การผลิตผลงานต้นแบบ
2. นายฐปนนท์ อ่อนศรี สัดส่วนการทำวิจัย 15%

อีเมล m_art99@yahoo.com อาจารย์ประจำสาขาวิชาศิลปกรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
หน้าที่รับผิดชอบ : งานจัดฝึกอบรม เป็นผู้ร่วมดำเนินการวิจัยในขั้นตอนการสืบค้นข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การออกแบบพัฒนาสร้างสรรค์ การผลิตผลงานต้นแบบกราฟิกทางการพิมพ์
ผู้ช่วยนักวิจัย
จบการศึกษาระดับปริญญาตรี วิชาเอกออกแบบนิเทศศิลป์และแขนงวิชาเอกออกแบบประยุกต์ศิลป์ และหรือสาขาที่เกี่ยวข้อง จำนวน 1 คน
หน้าที่รับผิดชอบ : เป็นผู้ช่วยนักวิจัยในการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงประจักษ์ การถ่ายภาพสตูดิโอ การออกแบบ-เขียนแบบโครงสร้าง ออกแบบกราฟิก อาร์ตเวิร์คสิ่งพิมพ์ สื่อการนำเสนอ การจัดทำแบบจำลอง การอัพเดทฐานข้อมูลออนไลน์และเว็บไซต์ ด้วยโปรแกรมประยุกต์ทางกราฟิกและโปรแกรมประยุกต์ประมวลผลกลุ่มเมฆแบบฟรี ตามลำดับขั้นตอนการวิจัยและหรือในขั้นตอนที่ได้รับมอบหมายเฉพาะ
Subscribe to:
Posts (Atom)